วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่

ทะเลแหวกลึกล้ำเข้าไปกลางทะเลลึกแห่งอันดามัน ช่วงเวลาหนึ่งที่เรานั่งเรือชมเกาะรูปร่างสวยงามแปลกตา ใครจะเชื่อว่า อีกชั่วข้ามเวลาหนึ่งทะเลที่เราผ่านมาชั่วครู่ จะลดระดับน้ำ ดุจทะเลแหวกออกจนกลายเป็นหาดทรายขาวสะอาดเชื่อมเกาะสองเกาะสองเกาะอย่างน่าอัศจรรย์มีลักษณะเป็นเกาะ 3 เกาะอยู่ในทะเล ยามเมื่อน้ำทะเลลดเป็นแนวยาว 2 เกาะสามารถเดินไปเที่ยวชมได้ซึ่งดูเหมือนเดินอยู่กลางทะเล จึงเรียกว่า ทะเลแหวก ทะเลแหวกสามารถชมได้ดีที่สุดในช่วงเวลาน้ำลงต่ำสุดในแต่ละวัน โดยเฉพาะในวันก่อน และหลังวันขึ้น 15 ค่ำ ราว 5 วัน ฤดูกาลท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคมของทุกปีการเดินทาง ทะเลแหวกอยู่ในเขตอำเภอเมือง ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 20 กิโลเมตร จากจังหวัดกระบี่ใช้ทางหลวงหมายเลข 4034 แล้วเลี้ยวซ้ายตามทางหลวงหมายเลข 4202 ไปอ่าวพระนาง สามารถเช่าเรือเหมาลำ ได้ทั้งทางเรือหางยาว และเรือเร็ว โปรแกรมทัวร์ที่เกี่ยวข้อง ทัวร์ 4 เกาะโดยเรือเร็ว ทัวร์ 4 เกาะโดยเรือหางยาว
สระมรกตสระมรกต สระน้ำสวยใสกลางใจป่า กำเนิดมาจากธารน้ำอุ่นในผืนป่าที่ราบต่ำภาคใต้ แหล่งสุดท้ายที่พบ นกแต้วแร้วท้องดำ ซึ่งเคยสูญพันธ์ไปนานเกือบ 100 ปี ใครจะรู้บ้างไหมว่า ใจกลางป่าผืนนี้มีทั้งสระน้ำสวยใส และนกหายากอยู่รวมกัน เป็นสระที่รับน้ำมาจากน้ำตกที่ไหลจากเทือกเขาประ-บางคราม น้ำที่ตกมามีสีเขียวคล้ายมรกต เต็มไปทั้งสระ จึงเรียกสระนี้ว่า สระมรกต สระมรกต สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปีแต่สภาพที่ดีซึ่งจะเห็นสระเป็นสีเขียวมรกตสดใส มักจะเป็นช่วงเวลาเช้า และเย็น โดยเฉพาะในวันฤดูร้อนที่ท้องฟ้าสดใสปราศจากเมฆฝนการเดินทางอยู่ในเขตอำเภอคลองท่อมจากจังหวัดกระบี่ บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาประ-บางคราม ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 60 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 สู่อำเภอคลองท่อม แยกซ้ายมือทางหลวงหมายเลข 4038 มุ่งหน้าอำเภอลำทับ ระหว่างทางมีทางแยกขวามือเป็นทางย่อยแยกเข้าสู่น้ำตกร้อน และสระมรกตที่มีป้ายบอกทางชัดเจน
น้ำตกร้อนอ่างอาบน้ำธรรมชาติกลางป่ารองรับสายน้ำตกที่ไหลหลั่นลงมาจากเนินเขา ใครได้มาสัมผัสต่างบอกกันว่า ไม่ใช่น้ำตกธรรมดาๆ แน่นอน ก็ใครจะเชื่อว่า นี่คือน้ำตกร้อนสายน้ำแร่ที่ไหลมาพร้อมๆ กับไออุ่นเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะ มีลักษณะเป็นธารน้ำพุร้อนผุด ขึ้นมาจากใต้ดินตามธรรมชาติ มีสารกำมะถัน เจือจางเป็นส่วนประกอบ มีอุณหภูมิพอเหมาะตกลงมาในแอ่งสามารถอาบน้ำได้ เป็นสถานที่ นักท่องเที่ยวนิยมไปอาบน้ำตกร้อน ธารน้ำแร่เพื่อสุขภาพน้ำตกร้อนสามารถไปเที่ยวชมได้ทุกวัน ช่วงเวลาที่สวยที่สุดคือช่วงเช้า 07.00-08.00 น. และช่วงเย็น 16.00-17.00 น.การเดินทาง อยู่ในเขตอำเภอคลองท่อม ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 50 กิโลเมตร จากกระบี่ถึง อ.คลองท่อม เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 4038 แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนรพช. และตามป้ายบอกทางไปจะพบน้ำตกร้อน และสระมรกต

เกาะไก่เกาะปอดะนอก หรือ เกาะไก่ หรือเกาะด้ามขวาน เกาะรูปร่างประหลาด ซึ่งกลายเป็นที่มาของชื่อเกาะอันหลากหลาย เนื่องจากชะง่อนผาที่ยื่นออกมาทางด้านใต้ ทำให้ผู้พบเห็นเกิดจินตนาการต่างๆกันไป บ้างก็เห็นเกาะคล้ายกับส่วนหัวของไก่ บ้างก็เห็นเป็นด้ามขวานที่วางตั้งอยู่ แต่ฝรั่งตาน้ำข้าวกลับมองเห็นเป็นป็อบอาย

อ่าวโล๊ะซามะ เกาะพีพีมรกตกลางอันดามัน ที่ใครหลายคนปรารถนาจะมาเยือน ด้วยความงามของภูเขาหินปูนรูปร่างแปลกตา หาดทรายขาวละเอียด น้ำทะเลสวยใส การเดินทางที่สะดวกสบาย พรั่งพร้อมไปด้วยที่พัก ร้านอาหาร ร้านค้า แหล่งบันเทิง รวมถึง บริการด้านการท่องเที่ยวที่ครบครัน เป็นสิ่งที่คอยดึงดูดผู้คนจากต่างแดน ให้เดินทางมาสัมผัสกับสวรรค์บนดินแห่งนี้

อ่าวมาหยา เกาะพีพีอ่าวมาหยา เกิดขึ้นด้วยกระบวนการเดียวกันกับอ่าวปิเละ แต่ส่วนหนึ่งของหน้าผาที่โอบล้อมพังทลายกลายเป็นช่องเปิดขนาดใหญ่เชื่อมต่อกับทะเลภายนอก น้ำทะเลไหลเวียนเข้าออกได้ดี เกาะหินปูนแห่งนี้ยังตั้งอยู่ห่างชายฝั่งหลายสิบกิโลเมตร

เขาขนาบน้ำเป็นเขาสองลูกสูงประมาณ 100 เมตร ขนาบแม่น้ำกระบี่ด้านหน้าตัวเมือง ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองกระบี่ สามารถไปเที่ยวชมได้โดยเช่าเรือหางยาวที่ท่าเรือเจ้าฟ้า

หมู่เกาะพีพีมรกตกลางอันดามัน ที่ใครหลายคนปรารถนาจะมาเยือน ด้วยความงามของภูเขาหินปูนรูปร่างแปลกตา หาดทรายขาวละเอียด น้ำทะเลสวยใส การเดินทางที่สะดวกสบาย พรั่งพร้อมไปด้วยที่พัก ร้านอาหาร ร้านค้า แหล่งบันเทิง รวมถึง บริการด้านการท่องเที่ยวที่ครบครัน เป็นสิ่งที่คอยดึงดูดผู้คนจากต่างแดน ให้เดินทางมาสัมผัสกับสวรรค์บนดินแห่ง

อ่าวไร่เลย์อ่าวไร่เลย์ และหาดอ่าวพระนาง ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ในบริเวณอ่าวเต็มไปด้วยเกาะแก่งมีทิวทัศน์โดยรอบสวยงามแปลกตากว่าหาดอื่นๆ เพราะด้านหนึ่งของอ่าวเป็นภูเขา มีถ้ำหินงอก หินย้อย เรียกว่า ถ้ำพระนาง ภายในถ้ำจะเป็นหินงอก หินย้อย สลับซับซ้อนเป็นชั้นๆ

วัดถ้ำเสือ"วัดถ้ำเสือ" ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองกระบี่มาไม่ไกลนัก ราวๆ5-6 กิโลเมตร ชื่อวัดนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าเนื่องจากในอดีตเคยมีเสืออาศัยอยู่ และภายในถ้ำยังปรากฏหินธรรมชาติ เป็นรูปแบบของอุ้งเท้าเสือ ส่วนที่มาของวัดนี้น่าจะมาจากพระธุดงค์ที่เดินทางจาริกไปเพื่อหาสถานที่วิเวกในการปฏิบัติธรรม มาอาศัยอยู่ตามถ้ำ และมีชาวบ้านที่ศรัทธาตามมากราบไหว้เป็นจำนวนมาก

อ่าวปิเละอ่าวปิเละ เมื่อหลายพันหลายหมื่นปีมาแล้ว ผนังถ้ำใต้ทะเลของเกาะแห่งนี้ทนรับน้ำหนักหินปูนหลายหมื่นตันที่อยู่ด้านบนไม่ไหว ถึงแก่กาลพังทลายยุบตัวลงมาพร้อมกัน เกิดเป็นแอ่งกว้างเกือบเป็นรูปทรงกลม การยุบตัวในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นทั่วประเทศไทย บางบริเวณที่อยู่บนบก แอ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นกลายเป็นบึง เช่น ทะเลบัน (สตูล) บึงแฝด (อุ้มผาง)ฯลฯ

ทะเลแหวกทะเลแหวก ลึกล้ำเข้าไปกลางทะเลลึกแห่งอันดามัน ช่วงเวลาหนึ่งที่เรานั่งเรือชมเกาะรูปร่างสวยงามแปลกตา ใครจะเชื่อว่า อีกชั่วข้ามเวลาหนึ่งทะเลที่เราผ่านมาชั่วครู่ จะลดระดับน้ำดุจทะเลแหวกออก จนกลายเป็นหาดทรายขาวสะอาดเชื่อมเกาะสามเกาะอย่างอัศจรรย์

เกาะไม้ไผ่เกาะไม้ไผ ตั้งอยูทางตอนเหนือของเกาะพีพีดอน ไมไกลจากเกาะยูงเทาใดนัก ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกมีหาดทรายสวยงามและแนวปะการังซึ่งสวนมากเป็นแนวปะการังเขากวางทอดยาวไปถึงทางทิศใตของเกาะ จนได้รับขนานนามว่าเป็น "ดงปะการังแสนไร่" ท่ามกลางทะเลอันดามัน
ที่มา
www.tourkrabi.com/index.php?lay=show&ac=article...

เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่





แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ จากแนวโน้มทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่กล่าวมานี้ พอจะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในเชิงประสิทธิภาพ และปริมาณความจุอย่างต่อเนื่องทุกปี ขีดความสามารถเหล่านี้ทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ตอบสนองความต้องการผู้ใช้ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีขีดความสามารถประมวลผลรูปภาพได้ดี และมีการใช้งานกับอุปกรณ์สื่อประสมที่ต้องการ ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง และวีดิทัศน์มากขึ้นคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการออกแบบให้มีจำนวนซีพียูและอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ จำนวนมาก เพื่อเสริมสร้างให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ดีขึ้นเรียกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง เครื่องคอมพิวเตอร์พวกนี้เหมาะกับงานคำนวณที่ซับซ้อนและต้องคำนวณตัวเลขจำนวนมาก เช่น งานพยากรณ์อากาศงานจำลองระบบมลภาวะเกี่ยวกับน้ำท่วม หรือการจำลองสภาพจราจร เป็นต้นเทคโนโลยีแบบสื่อประสม เทคโนโลยีแบบสื่อประสม (multimedia technology) หมายถึงการใช้สื่อหลายแบบผสมกัน ซึ่งมีทั้งที่เป็นข้อความ ตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงพูด เสียงดนตรี และวีดิทัศน์ ในอนาคตสื่อประสมจะเข้ามามีบทบาทสูงมาก เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถนำสื่อต่างๆ มาใช้งานกันได้ ระบบสื่อประสมนี้จะเข้ามามีบทบาททำให้เกิดการใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ทำเป็นหนังสือบนแผ่นซีดี ใช้สร้างเกมที่มีลักษณะเหมือนจริงมากขึ้น ใช้สื่อสารในการประชุมที่เรียกว่า การประชุมทางวีดิทัศน์ (video conference) ที่ทำให้สามารถติดต่อประชุมเหมือนอยู่ใกล้ๆ กัน การใช้งานในเรื่องต่าง ๆ จะมีอีกมากมายการเปลี่ยนแปลงระบบอุปกรณ์ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดการแข่งขันกันทางธุรกิจสูงมาก มีการคิดประดิษฐ์อุปกรณ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านนี้เติบโตและรุดหน้าจนเกินกว่าที่คนทั่วๆ ไปจะติดตามได้ทัน และในที่นี้จะขอกล่าวถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลงในเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ที่คอมพิวเตอร์เข้าไปมีบทบาท- ระบบควบคุมอัตโนมัติและหุ่นยนต์คอมพิวเตอร์- ระบบบัตรอิเล็กทรอนิกส์ - อุปกรณ์บอกชี้ตำแหน่งบนพื้นโลก - อุปกรณ์พิเศษสำหรับรับข้อมูลและแสดงผลปัญญาประดิษฐ์งานประยุกต์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ที่กำลังได้รับความสนใจ เช่น งานประมวลผลภาษาธรรมชาติ ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ได้มากขึ้น งานระบบผู้ชำนาญการ เป็นการประยุกต์หลักการปัญญาประดิษฐ์ที่เก็บสะสมความรู้ของผู้เชี่ยวชาญเพื่อเรียกมาใช้ประโยชน์ได้ งานหุ่นยนต์เป็นวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ต้องการสร้างเครื่องจักรให้ทำงานแทนมนุษย์ การมองเห็นและการรับความรู้สึก เป็นระบบที่จะสร้างให้เครื่องจักรรับรู้กับสิ่งแวดล้อมต่างๆ เหมือนมนุษย์ทางด่วนข้อมูลสารสนเทศลักษณะของทางด่วนสารสนเทศเหมือนกับระบบถนนที่มีถนนสายหลัก สายรอง ซอยเชื่อมเข้าสู่บ้านเรือน โดยใช้เส้นใยนำแสงเป็นสายหลัก และใช้สื่ออื่นประกอบ หากทางด่วนสารสนเทศเป็นไปอย่างสมบูรณ์ จะมีการประยุกต์ใช้งานบนเส้นทางด่วนมากมาย การพัฒนางานประยุกต์เป็นไปได้มากและมีรูปธรรมที่เด่นชัด ดังนี้ - ระบบโทรทัศน์ - ระบบวิทยุ - การประชุมทางวีดิทัศน์ - โทรศึกษาและโทรเวช - ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์- ห้องสมุดเสมือน - ระบบการพิมพ์หรือการบริการหนังสือพิมพ์บนเครือข่ายเทคโนโลยีโทรคมนาคมสมัยใหม่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย ขณะเดียวกันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมก็ได้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกมาก มีการให้บริการระบบสื่อสารสมัยใหม่อยู่มากมาย เทคโนโลยีเหล่านี้จึงได้รับความสนใจ- การสื่อสารผ่านดาวเทียม - การสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง- โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล- ระบบเครือข่ายสวิตชิง- ระบบสื่อสารเคลื่อนที่- ระบบสื่อสารไร้สาย แนวโน้มทางเทคโนโลยีในอนาคตการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคตเจริญก้าวหน้าไปทุกด้าน ตั้งแต่การพัฒนาซีพียูที่ทำงานดีและรับส่งข้อมูลได้เร็ว มีหน่วยเก็บข้อมูลมากขึ้น การประมวลผลและการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับข้อมูลได้มากขึ้น กิจกรรมในอนาคตของมนุษย์จึงเกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารทางด้านดิจิทัลอย่างมากอ้างอิงwww.skr.ac.th/My%20Intranet/thaigoodview/www.thaigoodview.com/cai_c0247/8/c8.htmhttp://www.geocities.com/tunderfrog/lesson8.html

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน ความหมายของข้อมูล
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้ ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา (Content) ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness) ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance) ความถูกต้อง (accuracy) ความเชื่อถือได้ (reliability) การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format) ชัดเจน (clarity) ระดับรายละเอียด (level of detail) รูปแบบการนำเสนอ (presentation) สื่อการนำเสนอ (media) ความยืดหยุ่น (flexibility) ประหยัด (economy)
เวลา (Time) ความรวดเร็วและทันใช้ (timely) การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date) มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ (Process) ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility) การมีส่วนร่วม (participation) การเชื่อมโยง (connectivity)
ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System)ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่รวบรวม ประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อใช้ในหารวางแผน การพัฒนาตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมการดำเนินงาน องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ฐานข้อมูล (database) เครือข่าย (network) กระบวนการ (procedure) และคน (people)ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และผลิต เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ประสิทธิภาพ (Efficiency) ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง กับข้อมูลซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหาระบบสารสนเทศนั้นออกแบบเพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น
ประสิทธิผล (Effectiveness) ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support systems) จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น อันจะส่งผลให้การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ไว้ได้ ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/ บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคาในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่ หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/ บริการให้ดีขึ้นระบบสารสนเทศทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/ บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย
ที่มา

http://www.bcoms.net/temp/lesson1.asp


ข้อมูลและสารสนเทศ
เขียนโดย dsp5482 เมื่อ พฤ, 09/07/2009 - 18:28. -->By dsp5482 เมื่อ พฤ, 09/07/2009 - 18:28 แก้ไขล่าสุด พฤ, 09/07/2009 - 18:28
ที่มา
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b4928044/images/pic-virus.jpg



ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น บุคคล สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วนขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล
ที่มา
http://www.thaiwbi.com/course/ICT/Rela2.gif



ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม
ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
ความหมายของข้อมูล ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
ที่มา
http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/IT/techop1.jpg



ความหมายของสารสนเทศ สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้
ลักษณะสารสนเทศที่ดี เนื้อหา (Content) - ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness) - ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance) - ความถูกต้อง (accuracy) - ความเชื่อถือได้ (reliability) - การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format) - ชัดเจน (clarity) - ระดับรายละเอียด (level of detail) - รูปแบบการนำเสนอ (presentation) - สื่อการนำเสนอ (media) - ความยืดหยุ่น (flexibility) - ประหยัด (economy)
เวลา (Time) - ความรวดเร็วและทันใช้ (timely) - การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date) - มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ (Process) - ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility) - การมีส่วนร่วม (participation) - การเชื่อมโยง (connectivity)
ที่มา
http://school.obec.go.th/terayan/c41201/image/p1-1.jpg

แก้ไข เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
วิกิพีเดียยังไม่มีบทความชื่อ "เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์" (ค้นหา เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ ในวิกิพีเดีย)
เริ่มบทความใหม่โดยพิมพ์ข้อความลงในกล่องด้านล่างนี้แล้วกดปุ่ม "บันทึก" การแก้ไขของคุณจะปรากฎทันที
เริ่มเขียนครั้งแรก แนะนำให้อ่านที่หน้าการเริ่มต้นและบทความแรกของฉัน และสามารถทดลองเขียนได้ที่หน้าทดลองเขียน
โปรดอย่าสร้างบทความที่มีเนื้อหาเป็นชื่อ หรือ เนื้อหาที่ไม่เหมาะกับสารานุกรม เพราะจะถูกลบทันที (อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย)
ดูบทความอื่นที่กล่าวถึง เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์
ถ้าคุณสร้างบทความชื่อเรื่องนี้ก่อนหน้านี้ มันอาจจะถูกลบไปแล้ว ดู หเทคโนโลยีสารสนเทศ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่:
ป้ายบอกทาง, ค้นหา
สำหรับความหมายอื่น ดูที่
ไอซีที

การใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปี พ.ศ. 2548
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (IT ย่อจาก information technology) หมายถึง
เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
ในบางครั้งจะมีการใช้ชื่อว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT)
[
แก้] อ้างอิง
ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
[
แก้] ดูเพิ่ม
วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer science)
วิทยาการสารสนเทศ (Information science)
ความปลอดภัยของข้อมูล (Information security)
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
ห้องสมุดดิจิทัล (Digital library)
การจดจำรูปแบบ (Pattern Recognition)
การจัดการข้อมูล (Data management)
การประมวลผลข้อมูล (Data processing)
การทำเหมืองข้อมูล (Data mining)
ข้อมูลของข้อมูล (Metadata)
การเก็บข้อมูล (Data storage)
ฐานข้อมูล (Database)
ข่ายงานข้อมูล (Data networking)
การประเมินเทคโนโลยี (Technology assessment)
วิทยาการเข้ารหัสลับ (Cryptography)
ITIL
ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นบทความเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือ เครือข่าย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้นข้อมูลเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เทคโนโลยีสารสนเทศน้าที่ถูกแจ้งลบเหตุผลในการลบ
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki